ปุ๋ย ทำไมถึงต้อง…ละลายช้า
“ปุ๋ย” ทำไมถึงต้อง…ละลายช้า
ปุ๋ยละลายช้าคืออะไรปุ๋ยละลายช้า คือ ปุ๋ยเคมีที่บรรจุอยู่ในสารเคลือบโพลิเมอร์ชนิดพิเศษ สารเคลือบชนิดนี้ออกแบบมาให้ปุ๋ยที่บรรจุอยู่ภายในค่อยๆ ละลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นเวลานาน พอเหมาะกับความต้องการของพืช ทำให้พืชได้อาหารอย่างเพียงพอและต่อเนื่องตลอดช่วงอายุของพืช ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงใส่เพียงครั้งเดียวก็สามารถอยู่ได้นาน จึงแตกต่างจากปุ๋ยธรรมดาทั่วไปที่ละลายน้ำอย่างรวดเร็ว และสลายธาตุอาหารออกมาอย่างสูง ใน 2–3 วันแรก แล้วปริมาณปุ๋ยจะลดอย่างรวดเร็วและหมดไปในเวลาอันสั้น ปุ๋ยละลายช้าทำงานอย่างไรการทำงานของปุ๋ยละลายช้าจะเริ่มขึ้นทันทีที่สัมผัสกับความชื้นในดินหรือเครื่องปลูกที่เปียกชื้น เม็ดปุ๋ยจะเริ่มดูดซึมน้ำผ่านพื้นผิวของสารเคลือบซึ่งเป็นรูเล็กมากเข้าไปละลายธาตุอาหารภายใน ธาตุอาหารภายในซึ่งมีความเข้มข้นสูงจะค่อยๆ ซึมผ่านเปลือกของโพลิเมอร์ที่เคลือบไว้ออกมาทีละน้อย คล้ายขบวนการออสโมซึส (OSMOSIS) ธาตุอาหารนี้จะค่อยๆ แพร่กระจายไปยังบริเวณรากพืชในปริมาณที่สม่ำเสมอทุกวัน สังเกตได้จากเม็ดปุ๋ยจะเริ่มใสขึ้น จนเมื่อปุ๋ยภายในเม็ดหมด จะเห็นเม็ดปุ๋ยใสที่มีแต่น้ำอยู่ข้างใน หรือเม็ดปุ๋ยนั้นจะแฟบหรือเหี่ยวแห้งไป ส่วนของเปลือกโพลิเมอร์นั้นจะค่อยๆ สลายตัวไปเองตามธรรมชาติ ดังนั้นปุ๋ยละลายช้าจึงต่างจากปุ๋ยทั่วไปที่ ปุ๋ยทั่วไปจะละลายน้ำทันทีที่สัมผัสน้ำ ธาตุอาหารจะหมดไปในระยะเวลาอันสั้น ส่วนปุ๋ยละลายช้าจะเก็บธาตุอาหารไว้ภายในเม็ดได้นานเป็นเดือนๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยธาตุอาหารอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าจะถูกควบคุมโดยอุณหภูมิของดินแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าอุณหภูมิในดินสูง อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารจะเร็วขึ้นพอเหมาะกับอัตราการเจริญเติบโตของพืชที่เพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าอุณหภูมิต่ำลง พืชเจริญเติบโตช้า ปุ๋ยละลายช้าก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารน้อยลงพอเหมาะต่อความต้องการของพืชเช่นกัน อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ซึ่งปกติแล้วอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยธรรมดาทั่วไปจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้คือ
ยกตัวอย่างเช่น อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายช้าในดินที่มีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถ้าอุณหภูมิในดินประมาณ 30 องศาเซลเซียส จะทำให้การปลดปล่อยเร็วขึ้น ระยะเวลาการปลดปล่อยธาตุอาหารจะสั้นลง ทำให้ปุ๋ยละลายช้าปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2-2.5 เดือน ข้อดีของปุ๋ยละลายช้า
ข้อเสียของปุ๋ยละลายช้า
วิธีใช้ปุ๋ยละลายช้า
อัตราการใช้ปุ๋ยละลายช้าไม้กระถาง ถ้าเป็นไม้ปลูกใหม่จะใช้วิธีรองก้นหลุมหรือผสมกับดินปลูกก็ได้ ถ้าเป็นไม้ที่ปลูกแล้วหรือใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมเมื่อการให้ปุ๋ยครั้งก่อนหมดลง ให้โรยปุ๋ยรอบ ๆ ขอบกระถาง โดยใช้อัตราปุ๋ยดังนี้
พืชในแปลงเพาะชำ ใช้ในอัตรา 2.5–3 กิโลกรัม / ดิน 1 ลูกบาศก์เมตร โดยคลุกปุ๋ยลงไปในดินปลูกให้ทั่ว สำหรับแปลงไม้ตัดดอก ไม้พุ่มเตี้ยๆ ไม้ใบ ใช้ในอัตรา 4–6 กิโลกรัมต่อ 100 ตรม. (40-60 กรัมต่อ 1 ตรม) โดยหว่านให้ทั่วแปลง สำหรับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ใช้อัตราปุ๋ยดังนี้
อัตราการใช้ข้างต้นเป็นเพียงแนวทางในการใช้ปุ๋ยละลายช้าเท่านั้น ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากบริษัทผู้ขายอีกครั้งก่อนใช้ ตัวอย่างสูตรปุ๋ยละลายช้าที่มีจำหน่าย
ที่มา : https://www.panmai.com/Tip/Tip08/Tip08.shtml
|